ความเป็นมาของกล้วย ชนิดของ กล้วย ต่างๆ

กล้วย คนไทยทุกคนรู้จักกล้วยมาแต่เล็กแต่น้อย ตอนเราเป็นทารก คุณพ่อคุณแม่ก็ให้เรารับประทานกล้วยบด โตขึ้นมาก็รู้จักในฐานะที่เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ เหลือหลาย ของว่าง ของหวาน ของคาว หนำซ้ำยังสามารถรักษาโรคได้อีกด้วย กล้วยมีประโยชน์ ตลอดทั้งลำต้น เรียกว่าสารพัดคุ้มจริง ๆ
ความเป็นมาของกล้วย
กล้วย เป็นสิ่งที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดี คุ้นเคยกันมาแต่อ้อน แต่ออกทีเดียว คนไทยสมัยก่อนจะใช้กล้วยบดกับข้าวป้อนทารก แม้เดี๋ยวนี้ในแถบชนบทก็เป็นอย่างนั้น กระผมเองเป็นคนบ้านนอก ที่บ้านมีสวนกล้วย (แต่เขาเรียกว่า ป่ากล้วย) จึงรู้จักกล้วยและกินกล้วยมาตั้งแต่เล็กจนโต แถวบ้านแต่ละบ้านมักจะปลูกกล้วยไว้กิน บ้านใคร ไม่มีกล้วยถือว่าเชยแหลกทีเดียว เพราะใครๆเขาก็มีกันทั้งนั้น แต่เดี๋ยวนี้ แถวๆบ้านชักจะละเลยกล้วยกันไปเยอะ กลับบ้าน ทีไรจึงต้องคอยกระตุ้นเร่งเร้าให้หันมาสนใจปลูกและแสวงหามากินกัน

อย่ามองเห็นว่ากล้วยเป็นของกล้วยๆ จึงไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ใครไม่ใส่ใจกล้วยก็เท่ากับมองข้ามความมีสุขภาพที่ดีของตนไป กล้วยนี่แหละทำให้มีสุขภาพดี คนโบร่ำโบราณของไทยเราอยู่คู่ กับกล้วยมาตลอด ได้ใช้ประโยชน์จากกล้วยตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะกล้วย มีประโยชน์มหาศาล นำมากินมาใช้สารพัด
กล้วยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานนมแล้ว อาจมีมาก่อนพุทธกาลด้วยซ้ำ เป็นที่รู้กันทั่วโลก ที่สำคัญก็คือ ในประเทศอินเดียได้มีการพูดถึงกล้วยมาตั้งแต่ 600 ปี ก่อนคริสต์กาลประเทศใหญ่ๆหลายประเทศก็มีการพูดถึงกล้วยกัน เมื่อพ.ศ. 743 ต่อมาก็เป็นที่รู้จักแพร่หลายกันในยุโรปและในส่วนอื่นๆของโลก อีกหลายแห่ง

ประเทศไทยมีการปลูกกล้วยกันมานานนม มาตื่นตัวกันมาก ในราวปี พ.ศ. 2507 หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้เบิกตลาดให้กับกล้วยหอม ไทย ตอนแรกๆอาจเป็นกล้วยป่า แล้วค่อยๆวิวัฒนาการ หรือนำกล้วยอื่นๆ มาปลูกกันแพร่หลาย จนปัจจุบันมีกล้วยมากมายหลายชนิดในประเทศของเรา ปัจจุบันเรามีกล้วยหลายพันธุ์ปลูกไว้บริโภคเองในประเทศและส่งออกขายต่างประเทศ
กล้วย ในภาษาไทยเป็นชื่อเรียกพรรณไม้พวกหนึ่ง มีหลายชนิด ด้วยกัน เห็นจะเหมือนกับคำ “ปีซัง” ของมลายูและ “เกงเจียว” ในภาษาจีน ซึ่งเป็นคำกลางใช้ทั่วไป เว้นแต่จะมีคำผสมมาประกอบเข้า ทำให้เห็น ลักษณะเด่นขึ้น เช่น กล้วยมีกลิ่นหอม เป็นกล้วยหอม แต่บังเอิญมีทั้งสีทองและสีเขียว จึงได้ชื่อใหม่ กลายเป็นกล้วยหอมทอง และกล้วยหอม เขียว เป็นต้น สำหรับคำ “ปิซัง” ก็อย่างเดียวกัน เช่น “ปิซัง มาศ” (ปิซัง = กล้วย, มาศ = ทอง) คือกล้วยทอง หรือกล้วยไข่ masak hijau (masak= สุก, hijau = เขียว) คือกล้วยสุกเขียว หรือกล้วยหอมเขียว

ส่วนคำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกกล้วยนั้น มีอยู่ 2 คำ คือ ba- nana และ plantain คำ plantain มาจากคำสแปนิช plantano” และคำ banana เป็นคำกินอา ซึ่งชาวโปรตุเกสนำไปพร้อมกับผล (ไม้) นั้น ทั้งสองคำนี้ในชั้นแรก คงคลุมผล (กล้วย) ของ Musa ทั้งหมด และ ดูเหมือนในภาษาอังกฤษนี้เองที่นำมาไว้เคียงกัน แต่ใช้แตกต่างกันอยู่บ้าง ในบางแห่ง โดยถือเอาลักษณะของเนื้อในผลเป็นเกณฑ์
ชนิดของกล้วยต่างๆ
กล้วยมีมากมายหลายชนิด ที่มีปลูกในประเทศไทย มีดังต่อไปนี้
- กล้วยกุ้งเขียว (เกิดจากกล้วยนาก แพร่เรียกกล้วยหอมทอง)
- กล้วยขม (ภาคใต้)
- กล้วยขมนาก (ภาคใต้)
- กล้วยไข่ (กำแพงเพชร, สุรินทร์)
- กล้วยไข่ทองร่วง (นครศรีธรรมราช)
- กล้วยไข่บอง (นครราชสีมาเรียกกล้วยไข่พระตะบอง)
- กล้วยไข่โบราณ (ตราด)
- กล้วยเงิน (สงขลา)
- กล้วยดอกไม้ พวกเดียวกับเสวยหอมทอง
- กล้วยตานี (มีทั่วประเทศ)
- กล้วยทองกาบคำ (ภาคใต้)
- กล้วยทองเดช (สงขลา)
- กล้วยทิพย์ (เชียงรายเรียกกล้วยทิพย์คุ้ม)
- กล้วยนมสาว (ภาคใต้)
- กล้วยนมหมี (อ่างทองเรียกกล้วยแหกคุก)
- กล้วยบัว (ภาคเหนือ)
- กล้วยปลวกนา (ภาคอีสาน)
- กล้วยพญา (สงขลา)
- กล้วยร้อยหวี
- กล้วยลังกา (พัทลุงเรียกกล้วยจีน)
ในบรรดากล้วยทั้งหลายที่กล่าวมานั้น กล้วยที่นิยมปลูกกันมาก และเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในประเทศไทยมีไม่มากนัก ได้แก่
1 กล้วยน้ำว้า
มีปลูกกันมากทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะ เป็นกล้วยที่ทนทานในทุกสภาพดินฟ้าอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ คนไทยนิยมปลูกในสวนหลังบ้าน ด้วยความแพร่หลายของกล้วยพันธุ์นี้จึงมีชื่อเรียกต่างกันไป ตามท้องถิ่น อย่างเช่น ภาคเหนือจะเรียกว่า กล้วยใต้ คนจันทบุรีเรียกว่า กล้วยมะลิอ่อง คนอุบลเรียก กล้วยตานีอ่อง ลำต้นของกล้วยน้ำว้าจะมีความสูงไม่เกิน 3.5 เมตร ก้านใบมีร่อง ค่อนข้างแคบ ก้านช่อดอกไม่มีขน เครือหนึ่งมี 8-10 หวี หวีหนึ่งมี 13-16 ผล ผลและเปลือกหนากว่ากล้วยไข่ แต่ความยาวใกล้เคียงกับกล้วยไข่ เนื้อกล้วยสีขาว แกนกลางเรียกว่าไส้กลาง มีสีเหลือง ขาว หรือชมพู ซึ่ง ทำให้กล้วยแบ่งเป็น กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าขาว กล้วยน้ำว้ามีประโยชน์มาก ใช้เป็นอาหารของเด็กอ่อน เด็กทารก วัย 3 เดือน ทุกคนต้องผ่านการกินกล้วยน้ำว้าครูดมาแล้วทั้งสิ้น นอกจาก เป็นอาหารของทารกแล้วยังนิยมนำมาบริโภคสด และทำขนมอีกด้วย
2 กล้วยไข่
มีปลูกกันมากเหมือนกัน มากที่สุดก็ที่จังหวัด กำแพงเพชร เป็นกล้วยที่ทนต่อโรคตายพรายและโรคใบจุด กล้วยไข่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กล้วยกระ – เมตร กาบกล้วยด้านในมีสีเขียว อมเหลือง โคนก้านใบมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ เครือหนึ่งมีประมาณ 6-7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 12-14 ผล ลักษณะ ของผลค่อนข้างเล็ก เวลาสุกจะมีสีเหลืองทอง กล้วยไข่ที่อร่อยและมี ชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ กล้วยไข่กำแพงเพชร นอกจากกินเล่นแล้ว กล้วย” จะกินกล้วย ยาสารท กล้วยไข่ยังเป็นพันธุ์กล้วยที่นำมาประกอบพิธีเดือนสิบ หรือสารทไทย
3 กล้วยหอมทอง
ปัจจุบันนิยมปลูกกันมาก มีการส่งเสริม กันทั่วไป กำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่มีข้อเสียคือไม่ทนทานต่อโรคตายพราย และโรคใบจุด กล้วยหอมจะมีอยู่หลายพันธุ์ ทั้งกล้วยหอมเขียว กล้วยหอม จันทน์ กล้วยหอมเขียวค่อม แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ กล้วยหอมทอง เพราะว่ามีกลิ่นหอม รสหวาน กล้วยหอมทองจะมีลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร เครือหนึ่งจะมี 5-6 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 10-15 ผล ปลายผลจะมีจุกยื่นออกมาให้เห็น ได้ชัดเจน เปลือกบาง เมื่อผลกล้วยสุก จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แหล่งปลูกส่วนใหญ่จะอยู่แถบภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดแถบปทุมธานี และรอบๆเขตปริมณฑล
4 กล้วยเล็บมือนาง
เดี๋ยวนี้ปลูกและขายกันทั่วไปเหมือนกัน ราคาดีด้วย กล้วย กองถิ่นเรียกว่า กล้วยข้าว กล้วยเล็บมือ กล้วยทองดอกหมากลำต้นมีความสูงไม่เกิน 2.5 เมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพู อมแดง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 15-18 ผล ผลเรียวเล็ก รูปโค้งงอ เปลือกหนา เมื่อสุกสีกล้วยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง รสชาติ จะคล้ายกล้วยไข่แต่เนื้อน้อยกว่า มีปลูกมากแถบภาคใต้ โดยเฉพาะ จังหวัดชุมพร
5 กล้วยหักมุก
(กล้วยส้ม) กล้วยหักมุกมีอยู่ 2 ชนิด ชนิด ที่มีนวลกับไม่มีนวล มีลำต้นสูง 3-3.5 เมตร กาบลำต้นด้านนอกมีกระดำ บ้างเล็กน้อย มีนวลมาก เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 12-16 ผล ผลใหญ่เวลาสุกแล้วจะมีรสฝาด จึงต้องนำไปเผาหรือฉาบจึงจะอร่อย